Pikachu

วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ

สมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุตามคาบ
1. สารประกอบคลอไรด์ของธาตุหมู่ IA IIA  มีสมบัติเป็นกลาง ยกเว้น BeCl2  มีสมบัติเป็นกรด  ส่วนสาร
ประกอบคลอไรด์ของธาตุหมู่  IIIA  ถึง  VIIA  มีสมบัติเป็นกรด

2. สารประกอบคลอไรด์ที่ไม่ละลายน้ำได้แก่  CCl4 , NCl3
3. เขียนสมการแสดงปฏิกิริยาของสารประกอบคลอไรด์กับน้ำได้ดังนี้
                            PCl5  +  4H2O   ®   H3PO4  +  5HCl
                        
                             SiCl4  +  2H2O   ®   SiO2  +  4HCl

สารประกอบคลอไรด์ที่ควรรู้จัก
•   CaCl2  ใช้ในเครื่องทำความเย็นในอุตสาหกรรมห้องเย็น ใช้ทำฝนเทียม
•    KCl  ใช้ทำปุ๋ย
•    NH4Cl  ใช้เป็นอิเล็กโทรไลต์ของเซลล์ถ่านไฟฉาย ใช้เป็นน้ำประสานดีบุก
•    DDT  และดีลดริน  ใช้เป็นยาฆ่าแมลง  กำจัดศัตรูพืช
•    เกลือแกง  ใช้ปรุงแต่งอาหาร  ถนอมอาหาร  



จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบของธาตุตามคาบ
          * แนวโน้มจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2  และคาบที่ 3 จะลดลงจากซ้ายไปขวา  เพราะคลอไรด์ของโลหะเป็นสารประกอบไอออนิก  ส่วนคลอไรด์ของอโลหะสารประกอบโคเวเลนต์

       *จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบออกไซด์ของโลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงเพราะสารประกอบเหล่านี้เป็นสารประกอบไอออนิก มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออนบวกกับไอออนลบเกิดขึ้นต่อเนื่องกันทั่วทั้งสาร  ส่วนสารประกอบออกไซด์ของอโลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เพราะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเหล่านี้คือแรงแวนเดอร์วาส์ล การทำให้สารระเหยหรือกลายเป็นไอจึงใช้พลังงานต่ำ




สมบัติของธาตุแทรนซิชัน
          การที่ธาตุแทรนซิชันมีสมบัติแตกต่างจากโลหะทั่วๆ ไป ทำให้ต้องแยกออกเป็นกลุ่ม ๆ ต่างหาก ลักษณะที่สำคัญของธาตุแทรนซิชันเป็นดังนี้...
     1.   มีเลขออกซิเดชันมากกว่า 1 ค่า ยกเว้นหมู่ IIIB  เช่น Sc ป็น +3 ค่าเดียว และหมู่ IIB  (Zn, Cd)  เป็น +2 ค่าเดียว
     2. ธาตุแทรนซิชันเป็นโลหะ จึงดึงดูดกับแม่เหล็ก และมีบางธาตุ เช่น Fe, Co, และ Ni สามารถแสดงสมบัติเป็นแม่เหล็กได้เมื่อนำไปวางไว้ในสนามแม่เหล็กนาน ๆ นอกจากนี้ยังมีสารประกอบของธาตุแทรนซิชันอีกหลายชนิดที่สามารถดูดกับแม่เหล็กได้









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น