Pikachu

วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบ O-net




บทที่ 3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ

สมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุตามคาบ
1. สารประกอบคลอไรด์ของธาตุหมู่ IA IIA  มีสมบัติเป็นกลาง ยกเว้น BeCl2  มีสมบัติเป็นกรด  ส่วนสาร
ประกอบคลอไรด์ของธาตุหมู่  IIIA  ถึง  VIIA  มีสมบัติเป็นกรด

2. สารประกอบคลอไรด์ที่ไม่ละลายน้ำได้แก่  CCl4 , NCl3
3. เขียนสมการแสดงปฏิกิริยาของสารประกอบคลอไรด์กับน้ำได้ดังนี้
                            PCl5  +  4H2O   ®   H3PO4  +  5HCl
                        
                             SiCl4  +  2H2O   ®   SiO2  +  4HCl

สารประกอบคลอไรด์ที่ควรรู้จัก
•   CaCl2  ใช้ในเครื่องทำความเย็นในอุตสาหกรรมห้องเย็น ใช้ทำฝนเทียม
•    KCl  ใช้ทำปุ๋ย
•    NH4Cl  ใช้เป็นอิเล็กโทรไลต์ของเซลล์ถ่านไฟฉาย ใช้เป็นน้ำประสานดีบุก
•    DDT  และดีลดริน  ใช้เป็นยาฆ่าแมลง  กำจัดศัตรูพืช
•    เกลือแกง  ใช้ปรุงแต่งอาหาร  ถนอมอาหาร  



จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบของธาตุตามคาบ
          * แนวโน้มจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2  และคาบที่ 3 จะลดลงจากซ้ายไปขวา  เพราะคลอไรด์ของโลหะเป็นสารประกอบไอออนิก  ส่วนคลอไรด์ของอโลหะสารประกอบโคเวเลนต์

       *จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบออกไซด์ของโลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงเพราะสารประกอบเหล่านี้เป็นสารประกอบไอออนิก มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออนบวกกับไอออนลบเกิดขึ้นต่อเนื่องกันทั่วทั้งสาร  ส่วนสารประกอบออกไซด์ของอโลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เพราะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเหล่านี้คือแรงแวนเดอร์วาส์ล การทำให้สารระเหยหรือกลายเป็นไอจึงใช้พลังงานต่ำ




สมบัติของธาตุแทรนซิชัน
          การที่ธาตุแทรนซิชันมีสมบัติแตกต่างจากโลหะทั่วๆ ไป ทำให้ต้องแยกออกเป็นกลุ่ม ๆ ต่างหาก ลักษณะที่สำคัญของธาตุแทรนซิชันเป็นดังนี้...
     1.   มีเลขออกซิเดชันมากกว่า 1 ค่า ยกเว้นหมู่ IIIB  เช่น Sc ป็น +3 ค่าเดียว และหมู่ IIB  (Zn, Cd)  เป็น +2 ค่าเดียว
     2. ธาตุแทรนซิชันเป็นโลหะ จึงดึงดูดกับแม่เหล็ก และมีบางธาตุ เช่น Fe, Co, และ Ni สามารถแสดงสมบัติเป็นแม่เหล็กได้เมื่อนำไปวางไว้ในสนามแม่เหล็กนาน ๆ นอกจากนี้ยังมีสารประกอบของธาตุแทรนซิชันอีกหลายชนิดที่สามารถดูดกับแม่เหล็กได้









บทที่ 2 พันธะเคมี

พันธะเคมี (Chemical Bond) 
          พันธะเคมีคือแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมหรือกลุ่มของอะตอมเพื่อเกิดเป็นกลุ่มที่เสถียรและเป็นอิสระในระดับโมเลกุล ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของพันธะเคมีในโมเลกุลคือจะปรากฏในบริเวณระหว่างนิวเคลียสของอะตอม ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานจนอยู่ในช่วงที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์  พันธะไอออนิก หรือพันธะโลหะ ได้ อนึ่ง การศึกษาเรื่องพันธะเคมีทำให้สามารถเข้าใจและทำนายสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารได้ 


พันธะไอออนิก (ionic bond) เกิดจากที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมสร้างพันธะกันโดยที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมให้อิเล็กตรอนกับอะตอมหรือกลุ่มของอะตอม ทำให้กลายเป็นประจุบวก ในขณะที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนนั้นกลายเป็นประจุลบ เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีประจุตรงกันข้ามกันจะดึงดูดกัน ทำให้เกิดพันธะไอออน โดยทั่วไปพันธะชนิดนี้มักเกิดขึ้นระหว่างโลหะกับอโลหะ โดยอะตอมที่ให้อิเล็กตรอนมักเป็นโลหะ ทำให้โลหะนั้นมีประจุบวก และอะตอมที่รับอิเล็กตรอนมักเป็นอโลหะ จึงมีประจุลบ ไอออนที่พันธะไอออนมีความแข็งแรงมากกว่าพันธะไฮโดรเจน แต่แข็งแรงพอ ๆ กับพันธะโคเวเลนต์




วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 1 อะตอมและตารางธาตุ

โครงสรางอะตอม
          แนวความคิดของ ลูซิพปุส (Leucippus) และดิโมคริตุส (Democritus) ยังคง แพรหลายอยหลายสู่สสารทั้งหลายประกอบดวยอนุภาคที่เล็กที่สุด จนกระทั่งตอมา วิทยาศาสตรไดเจริญกาวหนาขึ้นและเกิดทฤษฎีอะตอมขึ้นมาในปค.ศ.1808 จากแนวความคิด ของจอหน ดอลตัน ผูเสนอจุดเริ่มตนของเคมียุคใหม สมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของสสารที่ดอลตัน ไดเสนอคือแบบจําลองอะตอม เปนที่ยอมรับและสนับสนุนจากนักวิทยาศาสตรในสมัยนั้น โดยทฤษฎีอะตอมของดาลตันไดกลาวไว้วา
     1. สสารทุกชนิดประกบด้วยอะตอม ซึ่งเป็นหน่วยที่
เล็กที่สุด ไม่สามารถแบ่งแยก ไม่อาจสร้างขึ้นหรือทำลายได้
     2. ธาตุประกอบด้วยอนุภาคที่เรียกว่าอะตอม อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีลักษณะเหมือนกันคือ มีมวลขนาดและสมบัติทางเคมีเหมือนกันและแตกต่างจากอะตอมของธาตุชนิดอื่น
     3. สารประกอบเกิดจากการรวมตัวของอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มารวมตัวกันด้วยสัดส่วนอะตอมที่คงที่และเป็นเลขจำนวนเต็มหรือเศษส่วนอย่างง่าย

     4. การเกิดปฏิกิริยาเคมีเกี่ยวของกับการแยก การรวม และการจัดอะตอมใหม่เท่านั้น ไม่มีการสร้างหรือการสูญหายของอะตอม
             อ่านเพิ่มเติม...


แบบจําลองอะตอมตามทฤษฎีอะตอม